อดีตเรือนจำอาบาชิริ สาขาฟุตามิกะโอกะ

きゅうあばしりけいむしょ ふたみがおかけいむししょ
  • ย้าย แล้วนำมาสร้างใหม่
  • สร้างเมื่อ : ปี ค.ศ. 1896
  • ปีที่สร้างขึ้นใหม่:ปี ค.ศ. 1999
  • พื้นที่ : 1,933 ตร.ม.²
อาคารหลังนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1896 ที่เนินเขาทางทิศตะวันตกของอาบาชิริ ในฐานะที่เป็น “สถานที่ราชการนอกคุชชะโระ” เพื่อเป็นอาคารนำร่องทางด้านเกษตรกรรมของเรือนจำอาบาชิริ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นทะเลสาบสองแห่ง คือทะเลสาบอาบาชิริ และทะเลสาบโนะโทะโระ หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เรือนจำฟุตามิกะโอกะ” แม้ในปัจจุบัน ซึ่งผ่านกาลเวลามาถึงกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นสถานที่ ที่สำคัญในการผลิตอาหารให้แก่ผู้ถูกคุมขัง และยังเป็นสถานที่ที่ให้อิสระแก่ผู้ถูกคุมขังที่จะยืนหยัดด้วยลำแข้งของตนเอง ในการบริหารและเก็บเกี่ยวผลผลิตจากพื้นที่ทางการเกษตรอันกว้างใหญ่ได้ เป็นเรือนจำไม้ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน และย้ายมาที่พิพิธภัณฑ์ในปี ค.ศ. 1999
ช่วงเวลาในการก่อสร้างอาคารแต่ละหลังนั้น ตึกบัญชาการ ห้องขังรวม โรงครัวสร้างตั้งแต่เริ่มแรกคือใน ปี ค.ศ. 1896 อาคารอบรมจริยธรรม และโรงอาหาร ปี ค.ศ. 1925 ส่วนที่คุมขังนักโทษอุกฉกรรจ์ ปี ค.ศ. 1930 เมื่อตอนที่สร้างในปี ค.ศ. 1896 นั้น อาคารแต่ละหลังจะตั้งอยู่เป็นอิสระจากกัน แต่หลังเข้าสู่สมัยไทโชแล้ว อาคารสถานที่มีความสำคัญสูงขึ้น จึงมีการจัดระเบียบอาคารที่จำเป็น สร้างทางเดินเชื่อม ปรับปรุงตึกบัญชาการ เกือบจะเหมือนกับอาคารด้านเกษตรกรรมที่มีพื้นที่ 1,933.8 ตร.ม.ในปัจจุบัน

อาคารบัญชาการ

เป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปขนาดเล็ก ภายนอกเป็นผนังไม้ซ้อนเกล็ด หลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยแผ่นเหล็ก โครงสร้างหลังคาเป็นแบบดั้ง ส่วนที่ยื่นออกมานั้น เป็นแบบวาโกยะ วางรูปแบบโดยให้ด้านใต้มีโถงหน้าบ้าน มีทางเดินเชื่อมระหว่างเหนือกับใต้ ด้านตะวันออกมีห้องธุรการ ด้านตะวันตกมีห้องนอนเวร และห้องพัก พื้นห้องส่วนกลางปูกระเบื้อง ส่วนอื่นเทคอนกรีตแบบไม่ได้ปูพื้น เพดานเป็นแบบเพดานเรียบ รอยต่อระหว่างกำแพง และเพดานติดบัวฝ้า
โดยรวมแล้วเรียบง่าย แต่มีการตกแต่งที่จั่วตรงโถงหน้าบ้าน Cornice ที่ด้านบนของหน้าต่าง และขอบประตู

ห้องขัง

ด้านนอกของห้องขังรวมเป็นผนังไม้ซ้อนเกล็ด หลังคามุงแผ่นเหล็กแบบมีสันแหลม ตรงกลางมีช่องสังเกตการณ์ อาคารที่ 1 อยู่ทางทิศตะวันออก อาคารที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันตก เรียงกันเป็นเส้นตรง ตอนที่สร้างมีอาคารทางทิศเหนือด้วย เป็นรูปตัว T
ช่องสังเกตการณ์พื้นปูด้วยไม้ เพดานเป็นแบบเพดานเรียบ มีสองชั้นติด Cornice หักมุมขึ้นไปด้านบน ผนังฉาบปูน ส่วนล่างของผนังติดแผ่นไม้แนวตั้งไว้โดยรอบ ภายในมีทางเดิน และมีห้องที่หันหน้าเข้าหากันทั้งสองข้าง มีห้องขังรวมกว้าง 6 เสื่ออยู่ 20 ห้อง ที่กำแพงระหว่างทางเดินกับห้อง มีประตูไม้ ภาพตัดของทั้งสองข้างทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีไม้กระดานติดไว้ในแนวตั้ง มีหน้าต่างติดตะแกรงทำด้วยไม้ไว้ที่ส่วนบน โครงสร้างหลังคานั้นช่องสังเกตการณ์ที่อยู่ตรงกลางเป็นดั้ง อาคารหลังแรกจะเป็นโครงหลังคาแบบผสมผสานระหว่างโครงถักกับวาโกยะ อาคารที่ 2 มีโครงหลังคาที่คล้ายกับโครงรับหลังคาชนิดวางเสาคู่ที่ไม่เชื่อมต่อกับขื่อ

อาคารอบรมจริยธรรม และโรงอาหาร

อาคารอบรมจริยธรรมนั้น เป็นห้องเดี่ยว พื้นปูด้วยกระดานไม้ ยกพื้นทำเป็นเวที ผนังภายในฉาบปูน มีหน้าต่างกระจกแบบเลื่อนขึ้นลงเรียงกัน ด้านล่างของผนังติดแผ่นกระดานในแนวดั้งโดยรอบ เพดานตรงกลางติดโคมไฟประดับทรงกลม และช่องระบายอากาศรูปเหลี่ยมติดตั้งไว้อยู่ โครงหลังคาเป็นแบบวางเสาคู่
โรงอาหารเป็นห้องเดี่ยว พื้นเทคอนกรีตแบบไม่ได้ปูพื้น เพดานไม้เปลือยฝ้า มีหน้าต่างระบายอากาศทรงเหลี่ยมติดตะแกรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามใหญ่ตัด 2 แห่ง หน้าต่างเป็นแบบเลื่อนปิดเปิด ติดไม้ฉลุลาย ภายนอกติดไม้กระดานในแนวตั้ง

ที่คุมขังนักโทษอุกฉกรรจ์

เป็นสถานที่สำหรับถอดหรือสวมโซ่ตรวน เวลาจะเข้าหรือออกพื้นที่ทำการเกษตร เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มุงด้วยแผ่นเหล็ก สถานที่ทำงานเป็นอาคารชั้นเดียว หลังคามุงด้วยแผ่นเหล็ก มีสันแหลม
ผนังภายนอกเป็นผนังไม้ซ้อนเกล็ด ทางเหนือเป็นที่ล้างเท้า มีอ่างล้างเท้าแคบ ๆ ยาวๆ อยู่ ส่วนทางใต้เป็นที่ซักผ้า ชั้น 2 เป็นที่เก็บของเบ็ดเตล็ด เสื้อผ้า และหนังสือ พื้นปูไม้กระดานทั้งหมด ด้านบนมีหน้าต่างรับแสงสว่างโดยรอบ เพดาน เป็นแบบเพดานไม้เปลือยฝ้า ด้านนอกมองเห็นดั้ง

โรงครัว

หลังคามุงด้วยแผ่นเหล็ก มีสันแหลม ผนังภายนอกเป็นผนังไม้ซ้อนเกล็ด โครงหลังคาแบบดั้ง
ติดปล่องควันใหญ่และเล็ก 2 แห่ง ทำให้เป็นห้องอาบน้ำเป็นเหมือนตอนที่ก่อสร้าง อยู่ที่สองฟากของห้องต้มน้ำ อ่างอาบน้ำมี 2 แห่ง เรือนจำสาขาฟุตามิกะโอกะ เป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่หาได้ยากทั่วทั้งประเทศ เพราะเป็นเรือนจำที่มีพื้นที่ทางการเกษตร และยังคงหลงเหลืออาคารที่สำคัญที่ย้อนกลับไปถึงตอนที่สร้างในปี ค.ศ. 1912 ได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์การลงโทษในฐานะที่เป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการพัฒนา โดยเริ่มจากการค้างแรมในสถานที่ทำงาน ซึ่งอยู่นอกสถานที่ และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสถานที่ที่มีระบบการปฏิบัติต่อนักโทษที่ก้าวหน้า และได้รับการยอมรับในด้านประวัติศาสตร์และการศึกษา จนได้รับการกำหนดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

แกลเลอรี่